KnowledgeExchange EP. 51 ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่
MP3•Jakson koti
Manage episode 381446228 series 3038815
Sisällön tarjoaa TK Park. TK Park tai sen podcast-alustan kumppani lataa ja toimittaa kaiken podcast-sisällön, mukaan lukien jaksot, grafiikat ja podcast-kuvaukset. Jos uskot jonkun käyttävän tekijänoikeudella suojattua teostasi ilman lupaasi, voit seurata tässä https://fi.player.fm/legal kuvattua prosessia.
โลกเศรษฐกิจไทยในอนาคตกำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปใน 3 รูปแบบ คือ โลกเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โลกเศรษฐกิจใส่ใจ ซึ่งเน้นเรื่องของสุขภาพกายและใจ และโลกเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเน้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม . โลกใหม่ต้องการแรงงานที่มีทักษะแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คนจำนวนหนึ่งอาจตกงาน ในขณะที่บางงานเป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ช่างซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ นักจิตวิทยา นักเทคนิคด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ นักการตลาดสีเขียว ฯลฯ การรู้ลึกเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แรงงานในอนาคตจะต้องมีทั้งความรู้ลึก รู้กว้าง มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดเชื่อมโยง . TDRI ได้วิจัยถึงทักษะแรงงานที่ผู้ประกอบการทั่วประเทศต้องการ พบว่า นอกจากทักษะวิชาชีพแล้ว นายจ้างยังต้องการทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะดิจิทัล ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ รวมทั้ง Soft Skill ต่างๆ เช่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การมีความคิดสร้างสรรค์ การมีความเป็นมืออาชีพ และความสามารถในการปรับตัว . ในขณะที่ ผลการสำรวจของ World Economic Forum และ SEA พบว่า หนุ่มสาวในประเทศไทย 30% เชื่อว่าทักษะที่ตนเองมีอยู่สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับการสำรวจของ OECD ที่พบว่า เด็กไทยกว่า 40% ขาด Growth Mindset คือไม่เชื่อว่าสติปัญญาและความสามารถของตนเองเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้คนรุ่นใหม่ไม่เห็นความจำเป็นในการปรับตัวหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต . โจทย์ที่สำคัญของประเทศไทยคือ สถาบันการศึกษาไม่สามารถผลิตผู้เรียนให้มีทักษะตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นเพราะสถาบันการศึกษามีรายได้ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณของรัฐ จึงไม่ต้องรับผิดรับชอบต่อการจัดการศึกษา และผู้เรียนขาดข้อมูลว่าสถาบันการศึกษาที่จะเลือกเรียนต่อ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีงานทำในอัตรามากน้อยเพียงใด แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การสร้างความรับผิดรับชอบของสถาบันการศึกษาให้มีมากขึ้น และขยายโอกาสของคนไทยในการเข้าถึงการพัฒนาทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ . ฟัง… การบรรยายเรื่อง “ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่” บรรยายโดย ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) บันทึกในโอกาสการประชุม TK Forum 2022 หัวข้อ “Learning City and Lifelong Learning Ecosystem”
…
continue reading
281 jaksoa