ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล
Manage episode 348315975 series 3233261
👩🏻💻 ห่างหายจากการทำไลฟ์ไปเดือนกว่าเลยค่ะ ตอนนี้จบภารกิจงานสำหรับปีนี้เป็นพี่เรียบร้อย พร้อมกับยังอยู่รอดปลอดโควิด ทั้งๆที่ในรอบ 1.5 เดือนที่ผ่านมา พี่ทำใจไว้ละ เพราะทำงานนอกบ้านเกือบทุกวัน พบเจอผู้คนมากมาย เปิดมาส์กทานข้าว ที่สำคัญแม่บ้านติดโควิดมาเสิรฟข้าวพี่บนห้องทุกวัน พี่ก็ยังอยู่รอดปลอดภัย (ไขว้นิ้ว)
🎧 กลับมากับไลฟ์ #53 ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล ทำไมเรื่องนี้สำคัญ และพี่อยากทำไลฟ์มาก ก็เพราะพี่เองก็เคยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องคอเลสเตอรอลหลายข้อทีเดียวค่ะ ซึ่งพี่เห็นว่าถึงเวลาที่ต้องอ่านงานวิจัยเพื่อเคลียร์ความเข้าใจผิดเหล่านี้กันเสียที เช่น
1. คอเลสเตอรอลสร้างจากที่ไหนในร่างกายบ้าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่าง สร้างจากตับ (hepataic synthesis) vs สร้างจากทางเดินอาหาร (intestinal synthesis) vs สร้างจากอวัยวะอื่นนอกเหนือจากตับ (extrahepatic synthesis) แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว กับ diagram 1 รูปจากงานวิจัยดีมาก 1 ฉบับพี่ว่าน้องจะกระจ่างในข้อสงสัยหลายเรื่องเลยค่ะ งานวิจัยที่พี่อ่านจบไปแล้ว 2 ฉบับดีมากๆ
2. คอเลสเตอรอลจากอาหาร มีผลกระทบต่อคอเลสเตอรอลในเลือดหรือไม่อย่างไร ทำไมบางคนกินไข่แล้วระดับคอเลสเตอรอลปรกติ ในขณะที่บางคนกินไข่แล้วระดับคอเลสเตอรอลในเลือดขยับขึ้น งานวิจัยที่ไขข้อข้องใจนี้รวมถึงฟังเลคเชอร์ของ Prof.Thomas Dayspring ก็กระจ่างมากเลยค่ะ
3. ทำไมตับจึงมีความสำคัญต่อการควบคุมภาวะธำรงดุลของคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะการควบคุมสมดุล LDL-Cholesterol ในเลือด ซึ่งเราจะต้องให้ความสนใจมาก เพราะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของ Atherosclerotic Coronary Artery Disease (ASCVD) มีปัจจัยอะไรบ้างที่กระทบการควบคุมสมดุลนี้
4. การลดระดับ LDL-Cholesterol ให้ต่ำที่ระดับ 70 มก/ดล หรือต่ำกว่าด้วยยา ในคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อ ASCVD เป็นอันตรายเนื่องจากไปลดการ supply คอเลสเตอรอลให้อวัยวะต่างๆจริงหรือไม่
5. ถ้าเราไม่บริโภคคอเลสเตอรอลเลย เป็นอันตรายต่อการสร้างคอเลสเตอรอลภายในร่างกายหรือไม่
📌 แค่ 5 หัวข้อนี้ พี่ว่าจะทำให้น้องๆเข้าใจคอเลสเตอรอลดีขึ้น พี่จะใช้ข้อมูลจาก textbook Teherapeutic Lipidology 2nd Edition เป็นหลัก เสริมด้วยงานวิจัยที่น่าสนใจสักจำนวนหนึ่ง
131 jaksoa